วงจรการทำงาน 

              เมื่อมอนเตสซอรีตระหนักว่าสมาธิคือกุญแจสำคัญในการพัฒนาตามธรรมชาติของเด็ก เธอจึงเริ่มสังเกตพฤติกรรมเด็กอย่างใกล้ชิด ในกรุงโรม ซิกโนรีนา มัคเคโรนี เป็นครูคนแรกที่ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง ถึงพฤติกรรมการทำงานของเด็ก“เด็กจะอยู่นิ่งเฉยสักพักหนึ่ง แล้วจึงเริ่มเลือกที่จะทำงานที่ตนคิดว่าง่ายที่สุด เช่น การเรียงสีตามความแก่ และอ่อนของสี โดยจะปฏิบัติเช่นนี้ไประยะหนึ่ง แต่ไม่นานนัก จากนั้น จะเริ่มหาสิ่งใหม่ๆ ที่ซับซ้อนขึ้นทำ เช่น เล่นกับตัวอักษรต่างๆ และจำอยู่กับกิจกรรมนั้นนานมากขึ้น (ครึ่งชั่วโมงโดยประมาณ)

              เมื่อเด็กเลิกเล่นกิจกรรมแล้ว จะเดินรอบๆห้อง และมีความสุขุมขึ้น บางคนอาจเข้าใจว่าเด็กคงจะ “เหนื่อย” ความจริงแล้ว ภายหลังจากนั้นไม่นานนัก เด็กจะเริ่มทำกิจกรรมที่ยากขึ้น และจะมุ่งอยู่กับ   กิจกรรมนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง จนแสดงให้เราสามารถรู้ได้ว่า เด็กกำลังเกิดการเรียนรู้จากกิจกรรมนั้น และเมื่อทำกิจกรรมดังกล่าวสำเร็จแล้ว เด็กจะอยู่ในอาการค่อนข้างสงบ และจะใช้เวลาระยะหนึ่งพิจารณางานที่ตนเองทำไปแล้วอย่างตั้งใจ แล้วจะเริ่มเข้าหาครู เด็กจะอยู่ในสภาพที่มีความพึงพอใจ และสดใส

(Spontaneous Activity in Education หน้า 97 บทที่ 3)    

              มอนเตสซอรีพบว่า เด็กๆ จะผ่านช่วงเวลาที่มีอาการอยู่ไม่สุข ในขณะที่ทำงานในช่วงเช้า แทนที่จะเข้าไปรบกวน  เนื่องจากเป็นช่วงสำคัญต่อการก้าวไปสู่ระดับการทำงานที่สูงขึ้น มอนเตสซอรี่กล่าวว่า “ความเหน็ดเหนื่อยแบบจอมปลอม” เป็นการตระเตรียมเด็กให้มีเวลาเป็นของตนเอง จึงขอไม่ให้ครูเข้าไปรบกวนในขณะนั้น เนื่องจากจะเป็นการหยุดยั้งความก้าวหน้าของเด็ก

 

การทำงานร่วมกันทั้งชั้นเรียน

               เมื่อเด็กที่ถูกปล่อยให้ทำงานด้วยตัวเองจนเสร็จ จ ะพบว่าเด็กมีความต้องการที่จะพิจารณางานที่ตนเองทำสำเร็จอยู่ระยะเวลาหนึ่ง รวมทั้งการพิจารณางานของผู้อื่น นอกจากนั้น จะเห็นว่าเด็กมีความสุขุม และความสุข ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เด็กได้มีการเข้าสังคม 

               จะเห็นว่าระยะเวลาทำงานที่มีสมาธิ คือระยะเวลาประมาณสามถึงสี่ชั่วโมง ดังนั้นหากเด็กสามารถทำกิจกรรมของตนได้มากเท่าไร เด็กก็จะมีความสุข มีวินัยในตนเองมาก และมีแรงจูงใจมากขึ้นเท่านั้น

               หากในช่วง “เหน็ดเหนื่อยจอมปลอม” ในเวลา 10 น. คุณครูที่ยังไม่มีประสบการณ์ อาจแปลความหมายของการหยุดนิ่ง หรือการพิจารณา ว่าเป็นสิ่งผิดปกติ แล้วเข้าไปก้าวก่าย ในช่วงดังกล่าวของเด็ก เช่น บังคับให้เด็กพักผ่อน ซึ่งอาจจะส่งผลให้เด็กทำงานชิ้นต่อๆไปไม่สำเร็จ และเมื่อเด็กถูกรบกวนในวงจรการทำงาน เด็กจะสูญเสียบุคลิกภาพอันเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการภายในที่ไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์ ควรมีกิจวัตรบางอย่างที่ทำเป็นประจำทุกวัน เพื่อพัฒนาการของเด็กได้มีการพัฒนา เด็กมีความต้องการช่วงเวลาในการพิจารณางานของตน ซึ่งจากจุดนี้ จะทำให้เด็กมีความสามารถในการพัฒนาในด้านอื่นๆ ต่อไป

               เมื่องานกลายเป็นสิ่งที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ ระดับไหวพริบจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้น ความมีระเบียบวินัยในตนเอง จะช่วยเป็นแนวทางในการมีกิจวัตรที่ดี ทั้งหมดนี้จะทำให้เด็กทำงานด้วยความมีระเบียบวินัย อย่างสม่ำเสมอ และอย่างเป็นธรรมชาติ

               จุดสำคัญของทั้งหมดนี้อยู่ที่การได้ทำงานอย่างเป็นอิสระ และเป็นไปตามความต้องการของเด็กโดยธรรมชาติ ฉะนั้น อิสระ เสรีภาพในงานที่เกี่ยวกับไหวพริบ ความเฉลียวฉลาด ถือเป็นพื้นฐานของความมีสามัญสำนึกและวินัยอันดี งานที่เด็กเลือกทำเอง และสามารถปฏิบัติไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการรบกวน จะมีวงจรในตัวเอง

                เช่นเดียวกับวันหนึ่งวัน ที่มีเช้า และเย็น ควรปล่อยให้เกิดขึ้นและเสร็จสิ้นไปตามวงจรที่ควรเป็นเด็กๆ จะพบว่างานที่ตนทำ หากได้ทำโดยไม่มีการรบกวนตลอดวงจรแล้ว จะสามารถทำได้โดยไม่เหน็ดเหนื่อย วิธีที่ดีที่สุดสำหรับเรา คือการมองดูอยู่ไกลๆ โดยไม่รบกวนเด็ก